Welcome to blogger of Warunya.

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 17
วันที่ 31 พฤศจิกายน 2559

บันทึกการเรียนการสอน
          การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการสรุปการเรียนการสอนทั้งหมดตลอดทั้งเทอมรวมไปถึงการทบทวนงานที่ค้างคา แจกรางวัลเด็กดีโดยนับจากใบปั๊มการเข้าเรียน บอกแนวข้อสอบและการตรวจสอบความถูกต้องของโครงการ
 อาจารย์พูดเพื่อทำความเข้าใจกับนักศึกษา

 รับรางวัลเด็กดี

รางวัลเด็กดีที่มีค่าที่สุด

ปรึกษาการทำรูปเล่มโครงการ

ปรึกษาการทำรูปเล่มโครงการ

ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้
          ได้ทบทวนความรู้ที่เรียนมาตลอดทั้งเทอมและได้ข้อมูลในการทำรูปเล่มโครงการแบบพร้อมสมบูรณ์ และได้แนวทางในการสอบทำให้เราทบทวนบทเรียนได้ตรงจุด
การประเมิน
ประเมินตนเอง
          เข้าเรียนตรงเวลาตั้งใจฟังอาจารย์
ประเมินเพื่อนร่วมชั้น
          เพื่อนๆ เข้าเรียนตรงเวลาและตั้งใจฟัง
ประเมินอาจารย์
          อาจารย์เข้าสอนตรงเวลาและมีความเป็นกันเอง

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16
วันที่ 22 พฤศจิกายน 2559

**จัดทำโครงการให้ความรู้ผู้ปกครอง**

โครงการสื่อรักแสนสนุก เสริมสร้างลูกน้อย
ณ คริตจักรชาโลม กรุงเทพมหานคร

หลักการและเหตุผล
           สื่อการสอน คือ เครื่องมือที่ช่วยสื่อความหมาย จัดขึ้นโดยครูและนักเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดจัดเป็นสื่อการสอน เช่น หนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพ แผนที่ ของจริง และทรัพยากรจากแหล่งชุมชน หรือเป็นสิ่งต่างๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้ได้เป็นอย่างดี
สื่อการสอนแต่ละชนิดนั้นมีคุณค่าต่อการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่ง ผู้สอนสามารถที่จะเอาสื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนได้ทุกระดับชั้น ตั้งแต่การศึกษาระดับปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับปฐมวัยนั้น การใช้สื่อการเรียนการสอนกับวัยเด็กยิ่งมีความจำเป็นและมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะเป็นวัยแรกเริ่มแห่งการพัฒนาการในทุกๆ ด้าน เราจึงควรเลือกสื่อที่เหมาะสมกับวัยและวิธีการเรียนรู้ของเด็กแต่ละช่วงวัยด้วย
ผู้ปกครอง หมายถึง ผู้ที่เป็นบิดา มารดา หรือบุคคลอื่นที่ให้การอบรมเลี้ยงดูให้การศึกษาแก่เด็กที่อยู่ในการดูแล ดังนั้นในการกล่าวถึงผู้ปกครองจึงมีความหมายรวมถึงบุคคลที่เป็นพ่อและแม่ด้วย ผู้ปกครองเป็นผู้ที่ทำหน้าที่สำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการและทักษะการเรียนรู้ให้แก่เด็กตั้งแต่แรกเกิด เมื่อเด็กไปโรงเรียน ผู้ปกครองก็จะต้องเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในการดูแลเด็กร่วมกับโรงเรียนในด้านการจัดการเรียนรู้ การปฏิบัติหน้าที่ดูแลเด็ก การจัดสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับโรงเรียน ดังนั้น คณะผู้จัดทำโครงการจึงได้เห็นถึงความสำคัญของสื่อการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งการเรียนรู้ของเด็กนั้นจะเกิดขึ้นได้ ส่วนหนึ่งมาจาก พ่อ แม่ และผู้ปกครองของเด็ก คณะผู้จัดทำโครงการจึงจัดทำโครงการสื่อรักแสน สนุกเสริมสร้างเพื่อลูกน้อย ขึ้นมาเพื่อให้ความรู้เรื่องสื่อการสอนแก่ผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองได้เข้าใจถึงบทบาทของสื่อที่มีผลต่อการเรียนรู้ของลูกน้อย รวมไปถึงเพื่อให้ผู้ปกครองได้ตะหนักถึงบทบาทหน้าที่ของผู้ปกครองเองด้วย ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้จะมีผลกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในอนาคต เราจึงควรช่วยการส่งเสริมและพัฒนาทักษะของเด็กปฐมวัยอย่างเหมาะสมกับวัย เพื่อการเรียนรู้ที่จะเป็นผู้ใหญ่ที่ดีและมีคุณภาพในอนาคตต่อไป
วัตถุประสงค์
  1.   เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้จากการจัดกิจกรรมผลิตสื่อ
  2.   เพื่อให้ผู้ปกครองผลิตสื่อไว้ใช้เล่นกับเด็กได้
  3.    เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กจากการใช้สื่อ
เนื้อหา
               สื่อหมายถึง สิ่งต่างๆที่เป็นตัวกลางที่ผู้เลี้ยงดูเด็กนำมาช่วยในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ ค่านิยม หรือทักษะที่ตนมีไปสู่เด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพและเด็กเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายได้ดีที่สุด  สื่อแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ สื่อที่เป็นเกมการศึกษาและสื่อที่เป็นของเล่น สื่อที่เป็นเกมการศึกษา เช่น บล็อกไม้ ภาพตัดต่อ จับคู่ภาพ  เป็นต้น  สื่อที่เป็นของเล่น เช่น ตุ๊กตาทำจากเศษผ้า ตุ๊กตาโยกเยก เป็นต้น นอกจากนี้แล้วการที่จะเลือกของเล่นให้กับเด็กๆนั้นต้องเน้นความปลอดภัยเป็นอันดับแรกในการเลือกสื่อให้เด็ก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความสะอาด  ความแข็งแรง  สารพิษที่สามารถเจือปนในของเล่นเด็ก  ความแหลมคม  จะทำให้เด็กได้รับบาดเจ็บและเป็นอันตราย สื่อหรือของเล่นต้องเล่นได้ทั้งครอบครัว ต้องเป็นของเล่นที่สร้างความสัมพันธ์ให้กับเด็กโดยให้เด็กได้เล่นกับผู้ปกครอง ในขณะที่เล่นผู้ปกครอง ผู้ปกครองก็จะอธิบายเพื่อเป็นการฝึกให้เด็กได้คิดและเกิดจิตนาการไปด้วย โดยการเลือกสื่อให้เด็กแต่ละวัยนั้น จะต้องเลือกตามความเหมาะสมและเหมาะกับพัฒนาการตามวัยของเด็กด้วย คือ พัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ – จิตใจ สังคม และสติปัญญา
เป้าหมาย
เป้าหมายเชิงปริมาณ
จำนวนผู้ปกครองเด็กปฐมวัย 20 คน
เป้าหมายเชิงคุณภาพ
ผู้ปกครองร้อยละ 80% สามารถนำกิจกรรมที่ได้รับไปใช้กับเด็กที่บ้านได้
วัน เวลาและสถานที่จัดสัมมนา
          วันอาทิตย์ ที่ 20  เดือนพฤศจิกายน 2559 เวลา 14.30 – 16.00 ณ คริตจักรชาโลม กรุงเทพมหานคร
รูปแบบการจัดโครงการ/เทคนิค
การอบรมเชิงปฏิบัติการ มีการบรรยายในรูปแบบของเนื้อหา และนำเสนอด้วย Powerpoint ,uการสาธิตการทำสื่อ สื่ออาจจะประดิษฐ์ขึ้นจากเศษวัสดุเหลือใช้เพื่อให้ประหยัดค่าใช้จ่าย  สื่อการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญของเด็กและยังเป็นสิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองควรให้ความสำคัญด้วย และนอกจากนั้น พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถหาความรู้จากแหล่งต่างๆ ได้อีกมากมาย

งบประมาณ          810 บาท
          ค่าใช้สอย    300 บาท
-  ค่าของที่ระลึกมอบให้แก่คริตจักรชาโลม 300 บาท
          ค่าวัสดุ             510 บาท
-  ขนมปัง            200 บาท
-  น้ำผลไม้          200 บาท
-  ฟิวเจอร์บอร์ด   85 บาท
-  กระดาษสี        25 บาท
-  กาว                 20 บาท
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
          1. ผู้ปกครองสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปจัดกิจกรรมกับเด็กที่บ้านได้
          2. ผู้ปกครองสามารถผลิตสื่อไว้ใช้กับเด็กได้
          3. เด็กได้รับการส่งเสริมพัฒนาการจากการใช้สื่อ
การติดตามและประเมินโครงการ
          1. จากแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครอง
          2. จาการสะท้อนตนเอง
ผู้รับผิดชอบโครงการ
          นางสาวจิรญา พัวโสภิต              ประธาน
          นางสาวประภาภรณ์ สายเนตร     รองประธาน
นางสาววรัญญา ศรีดาวฤกษ์        กรรมการ
นางสาวมาลินี ทวีพงศ์                กรรมการ
นางสาวศิริพร ขมิ้นแก้ว               กรรมการ
นางสาวอันทิรา จำปาเกตุ            กรรมการและเลขานุการ
ภาพบรรยากาศ















วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15
วันจันทร์ ที่ 14 พฤศจิกายน 2559
บันทึกการเรียนการสอน
          ในวันนี้เป็นการนำเสนอรูปเล่มโครงการและส่งความเคลื่อนไหวในการทำโครงการ อาจารย์ได้ให้คำปรึกษาและแจ้งข้อที่ต้องเพิ่มเติมแก้ไข


ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้ 
            ได้รับความรู้ในการจัดทำโครงการที่จะทำการให้ความรู้ผู้ปกครองเพิ่มเติม และได้รับข้อแก้ไขในการจัดทำโครงการครั้งต่อไป

การประเมิน
ประเมินตนเอง
          เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบของมหาวิทยาลัย และตั้งใจฟังคำแนะนำของอาจารย์
ประเมินเพื่อนร่วมชั้น
          เพื่อนๆ แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา และตั้งใจนำเสนอโครงการ
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
          อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา และให้คำปรึกษากับนักศึกษาเป็นอย่างดี

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14
วันจันทร์ ที่ 7 พฤศจิกายน 2559

บันทึกการเรียนการสอน
          การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการปรึกษาโครงการกับอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการว่าโครงการที่เราได้ร้างไปเสนอนั้นมีตรงจุดไหนที่ต้องแก้บ้าง และอาจารย์ได้ให้คำปรึกษาในส่วนที่ขาดหายไปเพื่อนำมาปรับปรุง

โดยในโครงการจะมีข้อมูลต่างๆประกอบไปด้วย
     1. ชื่อโครงการ
     2. หลักการและเหตุผล
     3. วัตถุประสงค์
     4. เนื้อหา
     5. เป้าหมาย (เชิงปริมาณ,เชิงคุณภาพ)
     6. วัน เวลา และสถานที่จัดทำโครงการ
     7. รูปแบบการจัดโครงการ
     8. แผนการดำเนินงาน (PDCA)
     9. งบประมาณ
     10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
     11. การติดตามและประเมินโครงการ
     12. ผู้รับผิดชอบโครงการ
**อาจารย์ได้แนะนำสิ่งต่างๆในการจัดทำโครงการ เช่น การทำหนังสือขอใช้สถานที่ เป็นต้น**

ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้
          ได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดทำโครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองทำให้เราสามารถนำไปทำโครงการและปรับปรุงส่วนต่างๆที่ยังไม่ดีพอให้มีความเหมาะสม

การประเมิน
ประเมินตนเอง
          เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบของมหาวิทยาลัย และตั้งใจฟังคำแนะนำของอาจารย์
ประเมินเพื่อนร่วมชั้น
          เพื่อนๆ แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา และตั้งใจนำเสนอโครงการ
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
          อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา และให้คำปรึกษากับนักศึกษาเป็นอย่างดี

วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13
วันจันทร์ ที่ 31 ตุลาคม 2559
บันทึกการเรียนการสอน
            การเรียนในวันนี้เริ่มต้นด้วยการส่งตัวแทนออกไปพูดทีละกลุ่มเรื่องอุปสรรคในการทำแบบสอบถามความต้องการของผู้ปกครองในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่าแต่ละกลุ่มนั้นประสบกับปัญหาอะไร




           โดยรวมๆแล้วแต่ละกลุ่มก็จะประสบกับปัญหาคล้ายๆกัน คือ การที่ผู้ปกครองไม่เข้าใจกับภาษาทางวิชาการของเราก็จะเป็นปัญหาในการทำความเข้าใจข้อคำถามคลาดเคลื่อนไปบ้าง โดยแต่ละสาขาวิชานั้นก็จะมีภาษาที่ต่างกันออกไป และปัญหาอีกปัญหาที่พบคือเรื่องของเวลาของผู้ตอบแบบสอบถาม แต่ละคนก็รีบไปทำงานของตนเองจึงทำให้การทำแบบสอบถามนั้นยากพอสมควร แต่ทุกกลุ่มก็สามารถทำแบบสอบถามความต้องการของผู้ปกครองผ่านเป็นไปได้ด้วยดี 
            จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้นั่งรวมกลุ่มเพื่อระดมความคิด รวบรวมแบบสอบถามและวิเคราะห์แบบสอบถามความต้องการของผู้ปกครองของแต่ละกลุ่ม ตั้งแต่ข้อมูลของผู้ทำแบบสอบถามไปถึงข้อคำถามความต้องการของผู้ปกครองแล้วเรียงลำดับความต้องการของผู้ปกครองว่าผู้ปกครองต้องการความรู้เรื่องใดมากที่สุดเพื่อนำมาเป็นการตัดสินใจเลือกทำโครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองต่อไป




           เมื่อทำเสร็จทุกกลุ่มแล้วอาจารย์ก็ได้พูดสรุปว่าแต่ละกลุ่มนั้นมีความต้องการของผู้ปกครองเรื่องใดมากที่สุด และได้ให้คำปรึกษาในเรื่องต่างๆ รวมไปถึงการตกลงทำโครงการว่าจะทำในรูปแบบใด เช่น กลุ่มย่อย หรือจะทำด้วยกันเป็นกลุ่มใหญ่ โดยได้ข้อสรุปว่ากลุ่มของเราเลือกทำกลุ่มย่อยเหมือนเดิมเพราะทำกลุ่มใหญ่ๆ จะมีปัญหามากกว่าและคนเยอะทำให้การทำงานมากขึ้นด้วย 

ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้
          ได้ฝึกการทำแบบสอบถามความต้องการและได้รวบรวมคะแนนทำให้เราได้ฝึกทักษะในการทำแบบสอบถามในรูปแบบต่างๆ ทำให้สามารถนำไปใช้ในการทำโครงการหรือวิจัยต่างๆ ที่ต้องใช้การทำแบบสอบถามความต้องการหรือแบบสอบถามในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง

ประเมินผล
ประเมินตนเอง
          เข้าเรียนตรงเวลาแต่งกายเรียบร้อยและตั้งใจเรียน
ประเมินเพื่อนร่วมชั้น
          เพื่อนๆตั้งใจเรียนและตั้งใจทำงาน
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
          อาจารย์เข้าสอนตรงเวลาและเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี