วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
วันจันทร์ ที่ 29 สิงหาคม 2559

เนื้อหาการเรียนการสอน
         วันนี้เริ่มต้นการเรียนการสอนด้วยการเล่นเกมการสื่อสารโดยทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรม เพราะอาจารย์ได้เตรียมมาหลายเกม แล้วจึงเข้าเนื้อหาการเรียนการสอน


                      การสื่อสารกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
ความหมายของการสื่อสาร
         การสื่อสาร (Communication) คือ กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จาก   ผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
         การติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารให้มีความเข้าใจ ที่ตรงกันเพื่อนำไปสู่การดำรงชีวิตที่มีความสุข

ความสำคัญของการสื่อสาร
  • ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
  • ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
  • ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
  • ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
  • ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ สร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต

รูปแบบของการสื่อสาร
  • รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล (Aristotle’s Model of Communication)
  • รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล (Lasswell’s Model of Communication)
  • รูปแบบการสื่อสารของแชนนอนและวีเวอร์ (Shannon & Weaver’s Model of Communication)
  • รูปแบบการสื่อสารของออสกูดและชแรมม์ (C.E Osgood and Willbur Schramm’s )
  • รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล (Berlo’s Model of Communication)


องค์ประกอบของการสื่อสาร
       1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
       2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
       3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
       4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
       5. ความเข้าใจและการตอบสนอง

ผู้ส่งสารและผู้รับสาร
  • ผู้จัดกับผู้ชม
  • ผู้พูดกับผู้ฟัง
  • ผู้ถามกับผู้ตอบ
  • คนแสดงกับคนดู
  • นักเขียนกับนักอ่าน
  • ผู้อ่านข่าวกับคนฟังข่าว
  • คนเล่านิทานกับคนฟังนิทาน
สื่อ
       ใช้วิธีพูด-เขียน หรือการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น ใช้รูปภาพ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ โดยวิธีการติดต่อนั้นต้องใช้ตัวกลางต่างๆ เช่น คลื่นเสียง ตัวหนังสือ แผ่นกระดาษที่มีตัวหนังสือเขียน  คลื่นวิทยุโทรทัศน์ ตัวกลางเหล่านี้เรียกว่า สื่อ โดยการสื่อสารนั้นสามารถใช้สื่อหลายๆอย่างได้พร้อมๆกัน เช่น การเรียน การสอน ต้องใช้ทั้งหนังสือ กระดาน ภาพ

สาร
       คือ เรื่องราวที่รับรู้ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น ข้อเท็จจริง ข้อแนะนำ  การล้อเลียน ความปรารถนาดี ความห่วงใย มนุษย์จะแสดงออกมาให้เป็นที่รับรู้ได้ การสื่อสารจะเกิดขึ้นตามกาลเทศะ และสภาพแวดล้อมต่างๆในสังคม

วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
       1. เพื่อแจ้งให้ทราบ หมายถึง การสื่อสารที่ผู้ส่งสารจะแจ้ง หรือบอกกล่าวข่าวสาร ข้อมูล เหตุการณ์ ความคิด ความต้องการของตนให้ผู้รับได้ทราบ
       2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา หมายถึง การสื่อสารที่มุ่งจะให้ผู้รับมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางด้านองค์ความรู้ ความคิด สติปัญญา ฉะนั้นจึงมุ่งเน้นไปที่การเรียนการสอนหรือการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการโดยเฉพาะ
       3. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง หมายถึง การสื่อสารที่มุ่งให้เกิดผลทางจิตใจหรืออารมณ์ ความรู้สึกแก่ผู้รับสาร ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้ส่งสารมีข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับสาร และมีกลวิธีในการนำเสนอเป็นที่พอใจ
       4. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ มุ่งเน้นให้ผู้รับสารมีพฤติกรรมคล้อยตาม หรือยอมรับปฏิบัติตาม
จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า วัตถุประสงค์ของการสื่อสารในแต่ละระดับมี จุดมุ่งหมายที่แตกต่างกันไป ซึ่งจะสำเร็จได้ต้องขึ้นอยู่กับทั้งฝ่ายผู้ส่งสารและฝ่ายผู้รับสาร มีความต้องการที่สัมพันธ์กัน โดยรวมแล้วพอสรุปวัตถุประสงค์การสื่อสารได้ ดังนี้
       1. เพื่อแจ้งให้ทราบ คือ การรับและส่งข่าวสารด้านต่างๆ การนำเสนอเรื่องราว ความรู้สึกนึกคิด ความรู้ หรือสิ่งอื่นใด ที่ต้องการให้ผู้รับสารรู้และเข้าใจข้อมูลนั้นๆ โดยมุ่งให้ความรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง
       2. เพื่อความบันเทิงใจ คือ การรับส่งความรู้สึกที่ดี และมุ่งรักษามิตรภาพต่อกัน เป็นการนำเสนอเรื่องราวหรือสิ่งอื่นใดที่จะทำให้ผู้รับสารเกิดความพึงพอใจ
       3. เพื่อชักจูงใจ คือ การนำเสนอเรื่องราวหรือสิ่งอื่นใดเพื่อจูงใจให้เกิดความร่วมมือ สร้างกำลังใจ เพื่อให้ผู้รับสารเกิดความคิดคล้อยตาม หรือปฏิบัติตาม ที่ผู้ส่งสารต้องการ และนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไข

ประเภทของการสื่อสาร
       ได้มีจำแนกประเภทของการสื่อสารไว้แตกต่างกันหลายลักษณะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการจำแนก ในที่นี้จะแสดงการจำแนกประเภทของการสื่อสาร โดยอาศัยเกณฑ์ในการจำแนกที่สำคัญ  3 ประการ คือ
                1. จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร
                2. จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก
                3. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร

1. จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร
 แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
       1.1 การสื่อสารทางเดียว (One-Way Communication) คือการสื่อสารที่ข่าวสารจะถูกส่งจากผู้ส่งไปยังผู้รับในทิศทางเดียว โดยไม่มีการตอบโต้กลับจากฝ่ายผู้รับ เช่น การสื่อสารผ่านสื่อ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ การออกคำสั่งหรือมอบหมายงานโดย ฝ่ายผู้รับไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็น ซึ่งผู้รับอาจไม่เข้าใจข่าวสาร หรือเข้าใจไม่ถูกต้องตามเจตนาของผู้ส่งและทางฝ่ายผู้ส่งเมื่อไม่ทราบปฏิกิริยาของผู้รับจึงไม่อาจปรับการสื่อสารให้เหมาะสมได้ การสื่อสารแบบนี้สามารถทำได้รวดเร็วจึงเหมาะสำหรับการสื่อสารในเรื่องที่เข้าใจง่าย
        1.2 การสื่อสารสองทาง (Two-way Communication) คือการสื่อสารที่มีการส่งข่าวสารตอบกลับไปมาระหว่างผู้สื่อสาร ดังนั้นผู้สื่อสารแต่ละฝ่ายจึงเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในขณะเดียวกัน ผู้สื่อสารมีโอกาสทราบปฏิกิริยาตอบสนองระหว่างกัน ทำให้ทราบผลของการสื่อสารว่าบรรลุจุดประสงค์หรือไม่ และช่วยให้สามารถปรับพฤติกรรมในการสื่อสารให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ตัวอย่างการสื่อสารแบบสองทาง เช่น การพบปะพูดคุยกัน การพูดโทรศัพท์ การออกคำสั่งหรือมอบหมายงานโดยฝ่ายรับมีโอกาสแสดงความคิดเห็น

2. จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก
       2.1 การสื่อสารเชิงวัจนะ (Verbal Communication) หมายถึงการสื่อสารด้วยการใช้ภาษาพูด หรือเขียนเป็นคำพูด ในการสื่อสาร
       2.2 การสื่อสารเชิงอวัจนะ (
Non-Verbal Communication) หมายถึงการสื่อสารโดยใช้รหัสสัญญาณอย่างอื่น เช่น ภาษาท่าทาง การแสดงออกทางใบหน้า สายตา ตลอดจนถึงน้ำเสียง ระดับเสียง ความเร็วในการพูด เป็นต้น

3. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร
       กิจกรรม ต่างๆ ของบุคคลและสังคม ถือว่าเป็นผลมาจากการสื่อสารทั้งสิ้น ดังนั้นการสื่อสารจึงมีขอบข่ายครอบคลุมลักษณะการสื่อสารของมนุษย์ 3 ลักษณะคือ                              
       3.1 การสื่อสารส่วนบุคคล (
Intrapersonal Communication)
       3.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication)
       3.3 การสื่อสารมวลชน (Mass Communication)

การสื่อสารกับตนเอง
  • การสื่อสารที่บุคคลเดียวเป็นทั้งผู้ส่งสารและรับสาร
  • การคิดหาเหตุผลโต้แย้งกับตนเองในใจ
  • เนื้อหาไม่มีขอบเขตุจำกัด
  • บางครั้งมีเสียงพึมพำดังออกมาบ้าง
  • บางครั้งเกิดความขัดแย้งในใจและไม่อาจตัดสินใจได้
  • อาจเป็นการปลอบใจตนเอง การเตือนตนเอง การวางแผน หรือแก้ปัญหาใดๆ

การสื่อสารระหว่างบุคคล
  • บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ไม่ถึงกับเป็นกลุ่ม
  • เป็นเรื่องเฉพาะระหว่างบุคคล อาจไม่เกี่ยวข้องหรือเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
  • อาจเป็นความลับระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารเท่านั้น
  • สารที่สื่ออาจเปิดเผยหากมีประโยชน์ต่อบุคคลอื่น

การสื่อสารสาธารณะ
  • มีเป้าหมายจะส่งสารสู่สาธารณชน
  • มีเนื้อหาที่อาจให้ความรู้และเป็นประโยชน์ ให้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
  • เป็นความคิดที่มีคุณค่าและเปิดเผยได้โดยไม่จำกัดเวลา
  • เช่น การบรรยาย การปาฐกถา  การอมรม การสอนในชั้นเรียน 

การสื่อสารมวลชน
  • ลักษณะสำคัญคล้ายการสื่อสารสาธารณะ
  • ต้องอาศัยสื่อที่มีอำนาจการกระจายสูง รวดเร็ว กว้างขวาง เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ดาวเทียมและสื่อมวลชน
  • ต้องคัดเลือกเฉพาะข้อเท็จจริงหรือข้อคิดเห็นที่เห็นว่าควรนำเสนอ
  • อาจสนองความต้องการและความจำเป็นของมวลชนมากหรือน้อยได้

การสื่อสารในครอบครัว
  • เป็นการสื่อสารขั้นพื้นฐานของมนุษย์
  • ประสิทธิภาพของการสื่อสารขึ้นอยู่กับความตั้งใจดีของสมาชิกในครอบครัว
  • คุณธรรมที่ดีงามในครอบครัวจะช่วยพัฒนาการสื่อสารไปในทางดีงามเสมอ
  • ต้องยอมรับและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่แตกต่างกัน
  • คนต่างรุ่นต่างวัยในครอบครัวต้องพยายามทำความเข้าใจให้ตรงกัน
  • ควรคำนึงถึงมารยาทที่ดีงามอยู่เสมอ

การสื่อสารในโรงเรียน
  • ส่วนใหญ่เป็นการสื่อสารกับบุคคลที่คุ้นเคย
  • เนื้อหามักเกี่ยวกับวิชาการ พื้นฐานอาชีพและหลักการดำเนินชีวิต
  • มีทั้งการสื่อสารระหว่างบุคคล การสื่อสารในกลุ่มและการสื่อสารสาธารณะ
  • อาจใช้เวลานานเพราะเรื่องราวมีปริมาณมาก
  • อาจมีโอกาสโต้แย้งถกเถียง ควรยอมรับข้อเท็จจริงและไม่ใช้อารมณ์
  • ข้อเท็จจริงและข้อสรุปบางเรื่องไม่ควรนำไปเผยแพร่
  • ควรระมัดระวังคำพูดและกิริยามารยาท
  • คุณธรรมด้านความซื่อสัตย์และการยอมรับอาวุโสเป็นเรื่องสำคัญ

การสื่อสารในวงสังคมทั่วไป
  • เริ่มด้วยการทักทายตามสภาพของสังคมนั้นๆ
  •  การแสดงความยินดีหรือเสียใจ ไม่ควรมากหรือน้อยจนเกินไป
  • การติดต่อกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อนควรพูดให้ตรงประเด็นและสุภาพพอควร
  • การคบหากับชาวต่างประเทศ ควรศึกษาประเพณีและมารยาทที่สำคัญๆของกันและกัน

ธรรมชาติและพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง
       ออเออร์บาค (Auerbach,1968) ได้กล่าวถึงธรรมชาติของผู้ปกครองไว้ดังนี้
  •  ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้
  • ผู้ปกครองมีความต้องการที่จะเรียนรู้
  • ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุดในสิ่งที่เขาสนใจ
  • การเรียนรู้จะมีความหมายที่สุดก็ต่อเมื่อเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวของผู้ปกครอง
  • การมีอิสระในการเรียนรู้จะทำให้ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุด
  • ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้จากกันและกัน
  • การให้ความรู้กับผู้ปกครองถือเป็นการให้ประสบการณ์ใหม่แก่ผู้ปกครอง

ธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
  • เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก
  • เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์
  • มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก
  • เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ
  • เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด
  • ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน
  • เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย

พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง
       ปัจจัยที่มีผลต่อการแสดงออกทางพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง
       1. ความพร้อม  คือ สภาพความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจที่จะเรียนรู้ โดยเตรียมความพร้อมในเรื่องดังนี้ พื้นฐานประสบการณ์เดิม สร้างความสนใจเห็นเห็นถึงความสำคัญของความรู้ ส่งเสริมความเชื่อมั่นในการเรียนรู้
       2. ความต้องการ คือ ความต้องการให้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีความสุข เช่น ต้องการให้ลูกมีสุขภาพที่แข็งแรง มีการศึกษาที่ดี
       3. อารมณ์และการปรับตัว คือ แนวโน้มที่จะปฏิบัติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มี 2 ประเภทคือ อารมณ์ทางบวก เช่น ดีใจ พอใจ ฯลฯ อารมณ์ทางลบ เช่น โกรธ เสียใจ หงุดหงิด ซึ่งอารมณ์ทั้ง 2 นี้มีผลต่อการเรียนรู้ ดังนั้นควรปรับอารมณ์ให้เกิดความสมดุลพร้อมที่จะเรียนรู้
       4. การจูงใจ หมายถึง การกระตุ้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้  เช่น ต้องการรู้เพื่อแก้ปัญหาลูกหลาน ต้องการรู้เพื่อพัฒนาลูก ต้องการรู้เพื่อให้ลูกเป็นคนดี
       5. การเสริมแรง คือ การสร้างความพึงพอใจหลังการเรียนรู้ให้แก่ผู้ปกครอง เช่น คำชมเชย รางวัล ฯลฯ
       6. ทัศนคติและความสนใจ คือ การที่บุคคลมีการตอบสนองและแสดงความรู้สึกต่อสิ่งเร้าต่างๆ เช่น
            - จัดสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ทำให้ผู้ปกครองพอใจและสนุกกับการเรียนรู้
            - ช่วงเวลาในการจัดให้ความรู้ ควรมีเวลาที่สะดวกในการเข้าร่วมกิจกรรม
       7. ความถนัด คือ ความสามารถของบุคคลในการทำกิจกรรมให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อุปสรรคที่สำคัญของการสื่อสาร

  • ผู้ส่งข่าวสารขาดทักษะในการสื่อสารที่ดี เช่นใช้ภาษาที่อยากแก่การเข้าใจ หรือไม่เหมาะแก่ผู้รับ
  • ข้อมูลข่าวสารมากเกินไป
  • ได้ข่าวสารไม่ครบสมบูรณ์ ทำให้สื่อความหมายผิดๆ
  • ข้อมูลที่ส่งไปผ่านหลายขั้นตอน
  • เลือกใช้เครื่องมือในการส่งข่าวสารไม่เหมาะสม
  • รีบเร่งด่วนสรุปข่าวสารเร็วเกินไป ขาดการไตร่ตรอง
  • ผู้รับข่าวสารไม่ทบทวน หรือสอบถามให้เข้าใจเมื่อสงสัย
  • อารมณ์ของผู้รับ หรือผู้ส่งอยู่ในสภาพไม่ปกติ
  • ผู้ส่งหรือผู้รับมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง ไม่รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น

7 c กับการสื่อสารที่ดี

  • Credibility ความน่าเชื่อถือ : สามารถทำให้ผู้รับสารเกิดความเชื่อถือในสารนั้น ๆ
  • Content เนื้อหาสาระ : มีสาระให้เกิดความพึงพอใจ เร่งเร้าและชี้แนะให้เกิดการตัดสินใจได้ในลักษณะอย่างไรบ้าง
  • Clearly ความชัดเจน : การเลือกใช้คำหรือข้อความที่เข้าใจง่าย ๆ ข้อความไม่คลุมเครือ
  • Context ความเหมาะสมกับโอกาส : การเลือกใช้ภาษาและใช้สิ่งที่ส่งสารเหมาะสม
  • Channel ช่องทางการส่งสาร : การเลือกวิธีการส่งข่าวสารได้เหมาะสมและรวดเร็วที่สุด
  • Continuity consistency ความต่อเนื่องและแน่นอน : การสื่อสารกระทำอย่างต่อเนื่องมีความแน่นอนถูกต้อง
  • Clarity of audience ความสามารถของผู้รับสาร : การเลือกใช้วิธีการส่งสารซึ่งมั่นใจว่าผู้รับสารจะสามารถรับสารได้ง่ายและสะดวกโดยคำนึงถึงความรู้ เจตคติ อุปนิสัย ทักษะการใช้ภาษา สังคมวัฒนธรรมของผู้รับสารเป็นสำคัญ

คุณธรรมในการสื่อสาร
คุณธรรม คือ

  • ความดีงามที่มีอยู่ในตัวบุคคล
  • ต้องประกอบด้วยเหตุผลที่ดีของแต่ละบุคคล
  • เกิดจากการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก
  • เกิดจากการได้เห็น ได้ยิน ได้อ่าน
  • เกิดจากการได้เห็นพฤติกรรมของคนที่เคารพรักเป็นแบบอย่าง

คุณธรรมที่สำคัญในการสื่อสาร

  • ความมีสัจจะและไม่ล่วงละเมิดสิทธิซึ่งกันและกัน
  • ความรัก ความเคารพและความปรารถนาดีต่อกัน
  • ความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนพูดหรือกระทำ
  • เป็นพฤติกรรมด้านนอกของการสื่อสาร หมายถึงพฤติกรรมที่ปรากฏให้เห็นชัดเจน เช่นกิริยาอาการ  การเปล่งเสียงออกมาเป็นถ้อยคำ  การเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรรวมทั้ง รูปภาพ แผนภูมิและการใช้วัตถุต่างๆ
  • เป็นกิริยาวาจาที่เรียบร้อยถูกต้องตามคตินิยมของสังคม

วิธีการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครอง

  • ศึกษาและพยายามทำตนให้เข้าใจกับผู้ปกครอง
  • พยายามเรียนรู้ความต้องการของเขา และหาแนวทางตอบสนองตามความเหมาะสม
  • พูดคุย พบปะกับผู้ปกครองในโอกาสต่างๆ
  • หาโอกาสไปร่วมงานพิธีทางศาสนา เข้าร่วมกิจกรรมกับผู้ปกครอง
  • ทำตนให้กลมกลืนกับผู้ปกครอง
  • มีท่าทีเป็นมิตรอยู่เสมอ
  • เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองร่วมกิจกรรม

สรุป
          การสื่อสารที่ดีและมีประสิทธิภาพนับเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้งานการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จ ผู้ที่เป็นครูจะต้องทำความเข้าใจเรื่องการสื่อสารให้กระจ่างชัดเจน ประกอบกับการศึกษาธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครอง พฤติกรรมการเรียนรู้ เพื่อที่จะได้ทำการให้ความรู้ให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองได้ดีมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความศรัทธา เชื่อมั่นและมีความอบอุ่นว่าสถานศึกษาจะมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นก็ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง บ้านโรงเรียน ชุมชนและสังคมเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเด็กร่วมกัน

ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้
          ได้รับความรู้เรื่องการสื่อสารกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ความหมายของการสื่อ สาร และอื่นๆอีกมากมาย รวมไปถึงทักษะการสื่อสารกับผู้ปกครองในรูปแบบต่างๆ ทำให้เราเข้าไปบริบทและสถานการณ์ต่างๆ ว่าควรปฏิบัติเช่นไร และยังสามารถนำไปใช้ไปในการเจรจาสื่อสารกับผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยอย่างถูกต้องและเหมาะสม

การประเมิน
ประเมินตนเอง 
          เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยถูกต้องตามระเบียบ ตั้งใจเรียน ตอบคำถามเมื่ออาจารย์ถาม ไม่คุยกับเพื่อนเสียงดังในเวลาเรียน
ประเมินเพื่อน 
          เพื่อนๆตั้งใจแต่งกายถูกต้องตามระเบียบ เข้าเรียนตรงเวลา ไม่พูดคุยกันระหว่างเรียน มีการจดบันทึกระหว่างเรียนด้วย
ประเมินอาจารย์ 
          อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีการเล่นเกมก่อนการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับเนื้อหา ทำให้นักศึกษาผ่อนคลาย และมีสมาธิในการเรียน

คำถามท้ายบท

1. จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป
ตอบ  การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการส่งข่าว หรือข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับเพื่อให้เข้าใจตรงกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้รับสารมีปฏิกิริยาตอบโต้กลับมาอย่างเข้าใจ
         ความสำคัญ คือ ทำให้เข้าใจกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารรวมไปถึงการทำให้ได้รับข่าวสารเข้าใจสถานการณ์ต่างๆ และทำให้เกิดมิตรภาพที่อบอุ่นอีกด้วย

2. การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร
ตอบ  ทำให้ผู้ปกครองเข้าใจที่ครูให้ความรู้ และเข้าใจวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย เพราะมีการสื่อสารกันระหว่างครูกับผู้ปกครอง

3. รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง ควรเป็นรูปแบบใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ  การสื่อสารนั้นต้องเป็นสารมีความเหมาะสมและตรงกับต้องการของผู้ปกครอง เพราะหากเป็นเรื่องที่ผู้ปกครองสนใจ จะทำให้การสื่อสารมีอุปสรรคน้อยลงและผู้ปกครองให้ความร่วมมือมากขึ้น เช่น ผู้ปกครองของเด็กอายุ 4 ปี ก็ควรมีการสื่อสารเกี่ยวกับเรื่องที่สอดคล้องกับผู้ปกครองและเด็กจึงจะเป็นการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และประสบความสำเร็จในการสื่อสาร

4. ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ   เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก
         • เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์
         • มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก
         • เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ
         • เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด
         • ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน
         • เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย

5. ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก ประกอบด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง
ตอบ  1. ความพร้อม
         2. ความต้องการ
         3. อารมณ์และการปรับตัว
         4. การจูงใจ
         5. การเสริมแรง
         6. ความถนัด


วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
วันจันทร์ ที่ 22 สิงหาคม 2559


**ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดงาน**

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2
วันจันทร์ ที่ 15 สิงหาคม 2559

เนื้อหาการเรียนการสอน

หลักเบื้องต้นในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
ความหมายของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
        Linda Bierstecker, 1992  กล่าวว่า การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง (parent education)  หมายถึง การให้ผู้ปกครองได้เข้าใจว่าเด็กได้ทำกิจกรรมอะไรที่โรงเรียนอนุบาลหรือศูนย์เด็ก เพื่อให้ผู้ปกครองได้เข้าใจวิธีการที่จะช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้
        ฉันทนา ภาคบงกช (2531)  กล่าวว่า การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง หมายถึง การให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้งทางร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา เป็นการทำความเข้าใจและสร้างทัศนคติที่ถูกต้องในการอบรมเลี้ยงดู ตลอดจนบทบาทหน้าที่ในการร่วมมือกันพัฒนาเด็กโดยใช้สื่อต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ในการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเด็กสำคัญ ดังนี้
        1. เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติและความต้องการของเด็ก โดยอาศัยพื้นฐานความรู้ และทฤษฏีเกี่ยวกับจิตวิทยาของเด็ก
        2. เพื่อให้สามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ แก่เด็กได้อย่างถูกต้องและสอดคล้องกับทางโรงเรียน
        กุลยา ตันติผลาชีวะ (2544)  กล่าวว่า การศึกษาสำหรับผู้ปกครอง หมายถึง การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการเลี้ยงดูเด็กให้ถูกต้องและมีพัฒนาการที่ดี วิธีการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองนี้มีหลายวิธีทั้งทางตรงและทางอ้อม การจัดการศึกษาอาจกำหนดเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม ขึ้นอยู่กับผู้ปกครองกลุ่มเป้าหมายการศึกษาสำหรับผู้ปกครองเป็นกระบวนการอย่างเป็นระบบที่จะสร้างให้ผู้ปกครองมีความรู้ของการเป็นผู้ปกครองและมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงกับโรงเรียนในการที่จะพัฒนาเด็กให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาไปอย่างเต็มศักยภาพ
        สรุปได้ว่า การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง หมายถึง การให้ความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก เพราะเด็กอยู่ในความรับผิดชอบของสถาบันครอบครัว การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองถือเป็นกระบวนการทางสังคม ซึ่งสังคมมีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุคคลภายในสังคมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในสังคม ทั้งในและนอกระบบ การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองจึงเป็นการช่วยเหลือพ่อแม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนผู้ที่เตรียมตัวจะเป็นพ่อแม่ให้ได้เรียนรู้ถึงวิธีการในการดูแล อบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาแก่เด็ก เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพและได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่า เพื่อการพัฒนาตนต่อไปในอนาคต

ความสำคัญของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
        Verna, 1972  กล่าวว่า การให้ความรู้ผู้ปกครอง จะช่วยให้ผู้ปกครองเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับการศึกษาซึ่งกันและกัน อันจะช่วยลดปัญหาความขัดแย้งต่อกัน ที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เด็กเกิดความสับสน
        Galen,  1991  กล่าวว่า การให้ความรู้ผู้ปกครอง จะช่วยให้ผู้ปกครองได้รับข้อมูลที่ดีในการเลี้ยงดู และการเข้ามาเกี่ยวข้องกับการศึกษาของผู้ปกครองจะช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จได้
        อรุณี หรดาล (2536)  กล่าวว่า การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีความสำคัญดังนี้
        1. ช่วยให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก
        2. ช่วยให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการอบรมเลี้ยงดู
        3. ช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงผลของการกระทำของตนเองที่จะมีต่อเด็กอันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเอง
        4. ช่วยให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย
        5. ช่วยให้ผู้ปกครองมีความรู้และฝึกทักษะ เทคนิคและวิธีการจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง
        6. ช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัย และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูและผู้ปกครอง ซึ่งจะมีผลดีต่อตัวเด็กโดยตรง
        การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเป็นสิ่งสำคัญที่มีต่อการศึกษาเด็กปฐมวัย สรุปได้ดังนี้
        1. เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก
        2. เป็นการให้ผู้ปกครองได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองที่มีต่อการศึกษาของเด็ก
        3. ทำให้ลดความขัดแย้งในการดำเนินงานทางการศึกษา ช่วยให้การศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
        4. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาของเด็ก
        5. ช่วยทำให้สถาบันครอบครัวมีความแข็งแรง

วัตถุประสงค์ในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
        Linda  Bierstecker, 1992  ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองไว้ ดังนี้
        1. เพื่อให้ผู้ปกครองได้เข้าใจวิธีดูแลเด็กและการจัดกิจกรรมของโรงเรียน
        2. เพื่อให้ผู้ปกครองและครูประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาเด็กร่วมกัน
        3. เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงความต้องการของเด็กและสามารถส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กที่บ้านได้อย่างถูก
        การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองโดยสรุปมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
        1. เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการในการอบรมเลี้ยงดูเด็กและให้การศึกษาแก่เด็ก
        2. เพื่อให้ความรู้และวิธีการในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่เด็ก
        3. เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวการศึกษาของเด็กที่โรงเรียนเพื่อให้ที่บ้านเข้าใจตรงกัน
        4. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงบทบาทของตนเองในการมีส่วนร่วมส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่บุตรหลาน
        5. เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับรู้และเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาให้แก่บุตรหลาน

รูปแบบในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
        การจัดการศึกษาที่เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษา การให้ความรู้ผู้ปกครอง จึงมีความสำคัญที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ดำเนินงาน เพื่อจัดรูปแบบในการให้ความรู้เพื่อเข้าถึงเป้าหมาย รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถกระทำได้ด้วยวิธีการดังนี้
        - การให้ความรู้แบบทางการ (formal)  เช่น การบรรยาย  การอภิปราย การโต้วาที ฯลฯ
        - การให้ความรู้แบบไม่เป็นทางการ (informal) เช่น การระดมสมอง การประชุมโต๊ะกลม การประชุมกลุ่มย่อย
        อรุณี  หรดาล (2536) ได้เสนอรูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองที่เหมาะสมกับสังคมไทย ควรมีลักษณะผสมผสานระหว่างรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเนื้อหาความรู้ และขนาดของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งมีอยู่ 5 ลักษณะ ดังนี้
        1.  เป็นรายบุคคล  การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเป็นรายบุคคล ส่วนมากจะจัดแบบไม่เป็นทางการ เช่น การเยี่ยมบ้าน การสนทนาซักถาม ฯลฯ
        2. กลุ่มขนาดเล็ก รูปแบบการให้ความรู้ในกลุ่มเล็ก ส่วนมากจะจัดแบบไม่เป็นทางการ เช่น การพบปะสนทนา การประชุมกลุ่มย่อย การประชุมโต๊ะกลม การระดมสมอง ฯลฯ
        3. กลุ่มขนาดใหญ่ อาจจัดได้หลายรูปแบบทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น การบรรยาย การอภิปราย การประชุมเชิงปฏิบัติการ
        4. ระดับชุมชน เช่น การบรรยาย การปาฐกถาหมู่ การโต้วาที การอภิปรายกลุ่ม การสนทนา ฯลฯ
        5. ระดับมวลชน เช่น วิทยุ เทปเสียง วีดีทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์
ฉันทนา  ภาคบงกช (2531)  ได้แบ่งรูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองแบบผสมผสานเพื่อให้เหมาะสมกับสังคมไทยเป็น 4 ระดับ ดังนี้
        1. ระดับห้องเรียน
        2. ระดับโรงเรียน
        3. ระดับชุมชน
        4. ระดับมวลชน
        จากรูปแบบดังกล่าวข้างต้นสามารถสรุปออกเป็นลักษณะของฐานการเรียนรู้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
        1. การใช้บ้านเป็นฐานในการเรียนรู้ (home base) เป็นการจัดกิจกรรมให้ความรู้กับผู้ปกครองถึงที่บ้าน เช่น การเยี่ยมบ้าน การส่งจดหมาย เอกสารถึงบ้าน การจัดทำโฮมสคูล (Home School)
        2. การใช้โรงเรียนเป็นฐานในการเรียนรู้ (school base) เป็นการจัดกิจกรรมความรู้ให้ผู้ปกครองที่โรงเรียน เช่น การจัดแสดงผลงานเด็ก    การประชุม การจัดสัมมนา การจัดนิทรรศการ การจัดมุมผู้ปกครอง
        3. การใช้ชุมชนเป็นฐานในการเรียนรู้ (community vase) เป็นการเผยแพร่ความรู้ผ่านชุมชน เช่น หมู่บ้าน วัด โบสถ์ มัสยิด วิทยุ โทรทัศน์ ระบบอินเตอร์เน็ต วารสาร นิตยสาร สื่อสิ่งพิมพ์ ฯลฯ ซึ่งกิจกรรมที่จัดโดยผ่านชุมชนประเภทต่างๆ พ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถเลือกเรียนรู้ได้ตามความสนใจที่สอดคล้องกับสภาพทางครอบครัว สังคม และวัฒนธรรมของตนเอง นับเป็นแนวทางให้ความรู้ที่เหมาะสมกับผู้ปกครองในสังคมยุคปัจจุบันมากขึ้น

แนวทางการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
        ฉันทนา  ภาคบงกช (2531) ได้เสนอแนวทางในการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองไว้ดังนี้
        1. สำรวจความสนใจ ความต้องการ รวมทั้งปัญหาต่างๆ ในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก โดยการสัมภาษณ์หรือใช้แบบสอบถาม
        2. จัดบริการต่างๆ เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ผู้ปกครอง เช่น
        - เชิญวิทยากรมาบรรยาย  อภิปราย สาธิต
        - จัดห้องสมุดและศูนย์ของเล่นสำหรับเด็ก
        - จัดศูนย์แนะแนวผู้ปกครองเพื่อให้คำแนะนำ
        - จัดตั้งชมรมหรือสมาคมผู้ปกครอง

แนวปฏิบัติของสถานศึกษา
        ในการจัดกิจกรรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง สถานศึกษาถือเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ผู้ปกครองได้ประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ ดังนั้นสถานศึกษาควรมีแนวปฏิบัติดังนี้
        1. รับฟังความคิดเห็นและความรู้สึกที่ผู้ปกครองมีกับลูก
        2. ขณะที่พูดคุยกับผู้ปกครองเด็ก ไม่ใช้เป็นการพูดถึงเด็กในทางที่ไม่ดีเท่านั้น แต่ควรพูดถึงในสิ่งที่ดีที่เด็กสามารถพัฒนาขึ้นมาก
        3. ควรหลีกเลี่ยงคำอธิบายหรือใช้คำศัพท์ทางวิชาการในการอธิบายพูดคุยกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง
        ผู้ปกครองถือเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อความเจริญเติบโต พัฒนาการ การเรียนรู้ การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้แก่เด็กปฐมวัย การที่ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ก็จะช่วยให้ประสบผลสำเร็จในชีวิตตั้งแต่เริ่มต้น การให้ความรู้ผู้ปกครองนับเป็นงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือกับหน่วยงานทุกฝ่าย เพื่อดำเนินการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องให้ผู้ปกครอง หน่วยงานที่มีบทบาทหลักในการให้ความรู้  แก่ผู้ปกครองคือ สถานศึกษา ซึ่งจะต้องดำเนินการให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การอบรมเลี้ยงดู การส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ การจัดการศึกษาของสถานศึกษา บทบาทของผู้ปกครองกับการศึกษาของเด็กทั้งที่บ้านและสถานศึกษา โดยดำเนินการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองโดยเลือกรูปแบบวิธีการที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางการศึกษาของผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองรับประโยชน์สูงสุด ประกอบด้วย 3 รูปแบบ คือ บ้านเป็นฐานการเรียนรู้ โรงเรียนเป็นฐานการเรียนรู้ และชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้
ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้
          ได้รับความรู้เรื่องหลักการเบื้องต้นในการให้ความรู้ผู้ปกครอง รวมไปถึงรูปแบบของการให้ความรู้ผู้ปกครองทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ทำให้เราสามารถเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมในการในความรู้ผู้ปกครองได้ อีกทั้งยังสามารถทำให้เราได้รู้หลักการเลือกวิธีที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของผู้ปกครองอีกด้วย เป็นอีกวิธีที่จะสามารถเข้าถึงผู้ปกครองเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเด็กปฐมวัยได้อย่างดี

การประเมิน
ประเมินตนเอง 
          แต่งกายถูกต้องเรียบร้อยตามระเบียบของมหาวิทยาลัย เข้าเรียนตรงเวลาตามตารางเรียน ตั้งใจเรียน ตอบคำถามเมื่ออาจารย์ถาม
ประเมินเพื่อน 
          เพื่อนๆตั้งใจเรียนดีมาก เข้าเรียนตรงเวลา ไม่พูดคุยกันระหว่างเรียน ทำตัวเหมาะสม
ประเมินอาจารย์ 
          อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา เตรียมการเรียนการสอนมาดีมาก มีความเป็นกันเองทำให้นักศึกษาไม่เครียด